วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานในรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน


บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 โดยใช้วิธีการสอน

แบบโครงงานในรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน

สถานที่           คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้วิจัย             อาจารย์ภูสิทธ์ ขันติกุล

ปีที่วิจัย           2555

 

ผู้วิจัยเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาการวิจัยในชั้นเรียนแก่นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม ในการสอนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2555 นักศึกษาระดับปริญญาตรีตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เพื่อให้มีพื้นความรู้ทางสังคมศาสตร์การพัฒนาและสามารถแก้ปัญหาในผลการเรียน และพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี รายวิชานี้ต้องการให้นักศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ (ก) หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม และ (ข) การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงในการลงพื้นที่วิจัยกับประชาชนในชุมชน แก้ไขปัญหาหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นลําดับขั้นตอน ผู้วิจัยจึงได้นําเอานวัตกรรมการวิจัยในชั้นเรียนที่เรียกว่า การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามวิธีการสอนแบบโครงงานโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (research-based learning) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษา สามารถจัดทำโครงงานได้กลุ่มละ 1 เรื่อง การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการ ในภาคเรียนที่ 1/2555 จํานวน 1 ภาคเรียน

ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการและแบบจําลองคุณภาพมาประยุกต์ใช้ในการวิจัยครั้งนี้   โดยมี กิจกรรมการวิจัยประกอบด้วย  (1) การค้นหาทักษะที่ต้องการพัฒนา  ผู้วิจัยศึกษาเอกสารหลักสูตร เอกสาร คําอธิบายรายวิชาและตารางสอนของรายวิชา  เพื่อใช้ในการออกแบบการเรียน วางโครงการสอนและกําหนด กิจกรรมการเรียน (2) การศึกษาสภาพปัจจุบันผู้เรียน ผู้วิจัยศึกษาสภาพความรู้เดิมของนักศึกษาจากใบ รายงานผลการเรียน และประสบการณ์ทํางานของนักศึกษาจากเอกสารการมอบตัวที่สํานักทะเบียนของ มหาวิทยาลัย เพื่อนําไปใช้ออกแบบการเรียน วางโครงการสอนและกําหนดกิจกรรมการเรียนรู้  (3) การ ออกแบบการเรียนรู้ ผู้วิจัยออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย (ก) วัตถุประสงค์ (ข) เป้าหมาย (ค) กิจกรรม (ง) สื่อการเรียนการสอน และ(จ) การประเมินผล (4) การวางแผนการ สอน  ผู้วิจัยวางแผนการสอนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียนประกอบด้วย (ก) วันเวลาสอน (ข) วัตถุประสงค์การสอน  (ค) สาระการสอน   (ง) กิจกรรมการสอน  และ(จ) สื่อการสอน   (5)การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้จัด กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรมการสอน 16 กิจกรรม คือ การบรรยาย/กิจกรรม 11 ครั้ง นำเสนอหัวข้อโครงงาน 4 ครั้ง และนำเสนอผลและวิพากษ์ 1 ครั้ง ผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้วยการแบบโครงงานโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (research-based learning) ด้วย และ (7)การจัดทําข้อเสนอในการสอนครั้งต่อไป  ผู้วิจัยตรวจสอบผลการใช้นวัตกรรมการวิจัยทั้งรูปแบบการวิจัย การเอกสารและสื่อ แผนการ เรียนและโครงการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา เพื่อให้สามารถนําแบบอย่างที่ดีไปใช้และ เสนอแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้การวิจัยเชิงสำรวจ และตั้งใจมุ่งมั่นที่จะลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริงกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นการนำภาคทฤษฎีในชั้นเรียนสู่ภาคปฏิบัติในชุมชน มีความเข้าใจในด้านการพัฒนาสังคมมากขึ้น (2) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลนักศึกษายังเรียนรู้น้อยไปในลักษณะการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ และทักษะที่ขาดมากขึ้น ภาษาอังกฤษ ต้องเร่งแก้ไขและพัฒนาให้มากขึ้น
 
ลักษณะสำคัญของวิธีการสอนและเสนอทักษะที่ต้องการพัฒนา
 
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบโครงงานในรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน
สถานที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีที่วิจัย 2555
          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปะศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม โดยกําหนดให้ศึกษารายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน และมีการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของรายวิชา
          การสอนแบบโครงงานเป็นเครื่องมือที่สําคัญของการเรียนการสอนที่เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  นักศึกษาจึงต้องมีทักษะในการคิดเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาความรู้ควบคู่ไปกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง  อีกครั้งเป็นผู้มีความสามารถในการดำเนินโครงงานตามแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาในรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน ผู้สอนจึงได้นํานวัตกรรมการสอนแบบโครงงานที่พัฒนาขึ้นมาเป็นนวัตกรรมการวิจัยในการสอนครั้งนี้  โดยจัดให้มีกิจกรรมการบรรยายความรู้เรื่องแนวคิดหลักการและขั้นตอนการทำโครงงาน พร้อมกับให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติทดลองทําโครงงานในการลงพื้นที่จริงเป็นกิจกรรมประกอบการศึกษารายวิชา การพัฒนาความรู้ความสามารถแก่นักศึกษา  ในภาคเรียนที่ 1/2555 ต่อไปนี้เป็นการรายงานเรื่องราวการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมการสอนแบบโครงงานโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (research-based learning) ประกอบด้วยกิจกรรม 7 ขั้นตอน คือ
          (1) ลักษณะสำคัญของวิธีการสอนและเสนอทักษะที่ต้องการพัฒนา
          (2) ตรวจสอบสภาพพื้นฐานของผู้เรียน
          (3) เสนอแผนการสอนรายวิชา
          (4) วางโครงการสอนรายสัปดาห์
          (5) จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          (6) ตรวจสอบผลการสอน
          (7) เสนอแนวทางการปรับปรุงการสอน
          เรื่องราวการวิจัยมีรายละเอียดตามลําดับ ดังต่อไปนี้
          การศึกษารายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชาเพื่อนำไปใช้ออกแบบการสอนและวางโครงการสอน กำหนดกิจกรรมการสอนของรายวิชาไว้ดังนี้
1.       หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม
Bachelor of Arts Program in Social Innovation Management
2.       คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎีกระบวนการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจสังคมการเมือง ตลอดจนผลกระทบของการพัฒนาตามกระแสโลกที่มีต่อสังคมไทย รวมทั้งการแสวงหาทางเลือกของกระบวนการพัฒนา เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
3.       ลักษณะสำคัญของวิธีการสอน
การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (research-based learning) (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2555: 68-69) ได้อธิบายไว้ว่า การเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานเป็นแนวการสอนที่เน้นการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเน้นการทำวิจัยที่เป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบความรู้ใหม่หรืออาจเป็นการทำโครงงาน เพื่อหาความรู้ใหม่ ที่เป็นคำตอบโดยมีอาจารย์เป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือเป็นที่ปรึกษา ในการค้นหา สืบหาความรู้และข้อมูลเพื่อใช้ในการดำเนินการเรียนการสอนมีคุณภาพผู้เรียนต้องรู้วิธีสืบค้น (search) คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ นำข้อมูลที่กลั่นกรองแล้วมาวิเคราะห์และสรุป ประมวลผลเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งจะมีลักษณะสรุปได้ดังนี้
-          กระบวนการที่ใช้ : วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการวิจัย
-          แนวคิดของวิธีการสอน: เน้นการสร้างความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองเป็นการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
-          บทบาทครู: ที่ปรึกษา
-          บทบาทนักศึกษา: ผู้ทำวิจัย
ความรู้ที่ค้นพบ: ความรู้ใหม่นวัตกรรมใหม่ที่ผู้เรียนและครูไม่เคยรู้มาก่อน (unknown by all)
 
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
 
          จากโครงการสอนที่กำหนด ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายสัปดาห์ของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) จำนวน 16 กิจกรรมตามลำดับ ดังต่อไปนี้
 
1.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 1
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 1 ดังตาราง 5.1
ตาราง 5.1 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 1
วัตถุประสงค์  มีความรู้และเข้าใจในความหมายและแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนทัศน์การพัฒนา
สาระการเรียน  
1) แนวทางการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลที่จะเกิดผลประโยชน์นักศึกษา
2) นิยามกระบวนทัศน์
3) ครั้งที่ 1 บรรยายแนวคิด/ทฤษฎีการทำโครงงาน
วันที่ 13 มิถุนายน 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายสรุปด้วยสื่อ คอมพิวเตอร์และเอกสาร Crouse Syllabus
2)      ศึกษาเอกสารเรื่อง การทำโครงงาน
3)      ศึกษาเอกสารเรื่อง ตัวอย่างในการทำโครงงาน
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      ปฏิบัติตามโครงการ
3)      นักศึกษาได้อ่านเอกสารประกอบการสอนและหนังสือในชั้นเรียนหรือจากเวปไซด์น้อย
4)      นักศึกษาได้ศึกษาและวิเคราะห์ตัวอย่างการจัดทำโครงงานในชั้นเรียนไม่หลากหลาย
 
 
 
 
 
2.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 2
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 2 ดังตาราง 5.2
ตาราง 5.2 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 2
วัตถุประสงค์  มีความรู้และเข้าใจในความหมายและแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนทัศน์การพัฒนา
สาระการเรียน  
1) ฐานของกระบวนทัศน์
2) กระบวนทัศน์กับการพัฒนาชุมชน
วันที่ 20 มิถุนายน 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
3.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 3
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 3 ดังตาราง 5.3
ตาราง 5.3 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 3
วัตถุประสงค์  มีความรู้และเข้าใจในแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาสังคม
สาระการเรียน  
1) นิยามการพัฒนาสังคม
2) โครงสร้างสังคม
3) ทฤษฎีการพัฒนาสังคม
4) กลยุทธ์การพัฒนาสังคม
5) ครั้งที่ 2 บรรยายขั้นตอนการจัดทำโครงงาน
วันที่ 27 มิถุนายน 2555 เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      ระดมสมองค้นหาแนวคิด ทฤษฎีเพื่อใช้ในการอ้างอิงวรรณกรรม
3)      ค้นหาปัจจัยและตัวแปรในการนำไปสร้างเครื่องมือ
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาได้ศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวรรณกรรมเพื่อหาตัวแปร
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
4.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 4
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 4 ดังตาราง 5.4
ตาราง 5.4 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 4
วัตถุประสงค์  ออกแบบเครื่องมือในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
สาระการเรียน  
1) ออกแบบเครื่องมือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 1
2) ครั้งที่ 3 นำเสนอหัวข้อโครงงาน
วันที่ 4 กรกฎาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      ร่วมกันตั้งคำถาม
3)      นำไปสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ/เก็บข้อมูล(ทดลองตรวจสอบความเข้าใจของข้อคำถาม)
4)      ปรับแก้/เปลี่ยนเค้าโครง และเขียนเค้าโครงงานตามแบบฟอร์ม
5)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาได้ศึกษาและวิเคราะห์เครื่องมือวิจัย(แบบสอบถาม)
4)      นักศึกษาได้วิเคราะห์รายข้อแบบสอบถาม
5)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
 
 
 
5.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 5
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 5 ดังตาราง 5.5
ตาราง 5.5 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 5
วัตถุประสงค์  ออกแบบเครื่องมือในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล (สมบูรณ์)
สาระการเรียน 1) ออกแบบเครื่องมือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 2 (สมบูรณ์)
วันที่ 11 กรกฎาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบาย/แนะนำการเก็บข้อมูล
3)      ถ่ายเอกสารแจกตรวจสอบความถูกต้อง
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันอ่านเนื้อหาเครื่องมือ(แบบสอบถาม)ให้ระเอียดก่อนนำไปเก็บข้อมูลจริง
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
5)      เตรียมพร้อมกระบวนการเก็บข้อมูลและการแสดงพฤติกรรมในการลงพื้นที่
 
6.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 6
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 6 ดังตาราง 5.6
ตาราง 5.6 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 6
วัตถุประสงค์  ลงพื้นที่เก็บข้อมูล จำนวน 300 ชุด
สาระการเรียน 1) ลงพื้นที่เก็บข้อมูล (ครั้งที่ 1)
วันที่ 18 กรกฎาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน จำนวน 10 ชุมชนใกล้มหาวิทยาลัย
แผนกิจกรรม
1)       นักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูล (แบบสอบถามจำนวน 200 ชุด)
 
ผลการปฏิบัติ
1)       มีการแบ่งกลุ่มในการลงพื้นที่ชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยให้นักศึกษาต้องไปเป็นกลุ่มอย่างน้อย 3 คนขึ้นไปต้องมีผู้ชาย 1 คน (เพื่อความปลอดภัย)
                   * วิเคราะห์แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 281 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.66
7.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 7
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 7 ดังตาราง 5.7
ตาราง 5.7 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 7
วัตถุประสงค์  ลงพื้นที่เก็บข้อมูล จำนวน 300 ชุด (ลงเก็บข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์)
สาระการเรียน 1) ลงพื้นที่เก็บข้อมูล (ครั้งที่ 2)
วันที่ 25 กรกฎาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน จำนวน 10 ชุมชนใกล้มหาวิทยาลัย
แผนกิจกรรม
1)       นักศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูล (แบบสอบถามจำนวน 300 ชุด)*
 
ผลการปฏิบัติ
1)       มีการแบ่งกลุ่มในการลงพื้นที่ชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยให้นักศึกษาต้องไปเป็นกลุ่มอย่างน้อย 3 คนขึ้นไปต้องมีผู้ชาย 1 คน (เพื่อความปลอดภัย)
2)       ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหาด้วย
                   * วิเคราะห์แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 281 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.66
8.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 8
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 8 ดังตาราง 5.8
ตาราง 5.8 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 8
วัตถุประสงค์  รู้จักวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
สาระการเรียน  
1) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
2) การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์
3) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยสู่การพัฒนา
วันที่ 1 สิงหาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบาย/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      ร่วมวิเคราะห์อภิปรายกลุ่ม
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมไทย
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
9.      กิจกรรมการสอนครั้งที่ 9
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 9 ดังตาราง 5.9
ตาราง 5.9 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 9
วัตถุประสงค์  รู้จักวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อสังคมไทยในการพัฒนาสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และค้นคว้าทางเลือกใหม่ที่เกิดจากกระบวนการพัฒนา
สาระการเรียน 1) ทางเลือกใหม่ที่เกิดจากกระบวน การพัฒนาและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
วันที่ 8 สิงหาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบาย/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      ร่วมวิเคราะห์อภิปรายกลุ่ม
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมไทย
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
10.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 10
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 10 ดังตาราง 5.10
 
 
ตาราง 5.10 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 10
วัตถุประสงค์  รู้และเข้าใจในทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
สาระการเรียน
1)      ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
2)      การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน (วิจัย-เก็บข้อมูล)
3)      การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
วันที่ 15 สิงหาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบาย/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      บรรยาย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์และคัดเลือกแบบสอบถามที่สมบูรณ์ที่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ผล
4)      ร่วมกันอ่านผลจากการวิเคราะห์ด้วย SPSS
5)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
11.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 11
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 11 ดังตาราง 5.11
ตาราง 5.11 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 11
วัตถุประสงค์  วิเคราะห์ข้อมูล
สาระการเรียน 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน (รายด้านและรายข้อ)
วันที่ 22 สิงหาคม 2555  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบาย/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      อธิบายผลข้อมูล
4)      สรุปผลข้อมูล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
5)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์และอธิบายผล
4)      ร่วมกับสรุปผลข้อมูลการวิจัย
5)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
12.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 12
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 12 ดังตาราง 5.12
ตาราง 5.12 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 12
วัตถุประสงค์  ไปทัศนศึกษาที่งาน Thailand Research Expo 2012
สาระการเรียน 1) ศึกษาผลการวิจัยด้านสังคม และเศรษฐกิจ ของสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ (ไปทัศนศึกษาการแสดงผลการวิจัยระดับชาติที่ งาน Thailand Research Expo 2012)
วันที่ (27) 29 สิงหาคม 2555  เวลา 08.00-17.00 น. ห้องเรียน Center World
แผนกิจกรรม
1)      เก็บข้อมูลงานวิจัยของนักวิจัยทั่วประเทศ
2)      มอบหมายงาน
3)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด ทั้งการบรรยายและโปสเตอร์วิจัย
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาจดบันทึกผลงานวิจัยที่น่าสนใจเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนคนละ 2 ผลการวิจัย
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
 
 
 
13.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 13
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 13 ดังตาราง 5.13
ตาราง 5.13 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 13
วัตถุประสงค์  สรุปผลการลงพื้นที่และไปทัศนศึกษา
สาระการเรียน 1) สรุปผลการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน
วันที่ 5 กันยายน 2556  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบายผลข้อมูล/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      สรุปผลข้อมูล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันสรุปผลข้อมูลการวิจัย
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
14.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 14
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 14 ดังตาราง 5.14
ตาราง 5.14 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 14
วัตถุประสงค์  มีความรู้และเข้าใจในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
สาระการเรียน  
1) แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
2) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
วันที่ 12 กันยายน 2556  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบายผลข้อมูล/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      สรุปผลข้อมูล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันสรุปผลข้อมูลการวิจัย
4)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
15.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 15
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 15 ดังตาราง 5.15
ตาราง 5.15 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 15
วัตถุประสงค์  มีความรู้และเข้าใจในชุมชนเข้มแข็งและเศรษฐกิจพอเพียง
สาระการเรียน 
1) การพัฒนาสังคมเพื่อความยั่งยืน
2) การบริหารจัดการสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
3) เศรษฐกิจพอเพียง
วันที่ 19 กันยายน 2556  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบายผลข้อมูล/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      นำเสนองาน
4)      สรุปผลข้อมูล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
5)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาร่วมกันสรุปผลข้อมูลการวิจัย
4)      นักศึกษาจัดกลุ่มเตรียมนำเสนองานตามประเด็นที่สอดคล้องกันอย่างครบถ้วนเช่น ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ
5)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
 
 
 
16.  กิจกรรมการสอนครั้งที่ 16
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการแผนการสอนมาวางแผนกับตารางสอนของรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ครั้งที่ 16 ดังตาราง 5.16
ตาราง 5.16 กิจกรรมการสอนครั้งที่ 16
วัตถุประสงค์  ศึกษาแนวคิดท้องถิ่นกับการพัฒนา
สาระการเรียน  
1) ท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
2) สรุปการเรียนการสอน/แนะแนวการสอบ
วันที่ 26 กันยายน 2556  เวลา 08.00-11.00 น. ห้องเรียน 3532
แผนกิจกรรม
1)      บรรยายด้วยสื่อคอมพิวเตอร์
2)      อธิบายผลข้อมูล/ยกตัวอย่างประกอบ
3)      แนะแนวทางการสอบ
4)      สอบถาม/ซักถาม
ผลการปฏิบัติ
1)      ศึกษาเอกสารอย่างละเอียด
2)      นักศึกษาจดบันทึกประเด็นสำคัญในการบรรยาย
3)      นักศึกษาได้ร่วมกันสรุปผลการเรียนการสอน
4)      นักศึกษาเตรียมพร้อมในการสอบในชั้นเรียนตามแนวทางการแนะแนว
5)      นักศึกษาได้มีโอกาสซักถามข้อสงสัย และถามตอบเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น
 
17.  สรุปโครงการสอน
ผู้วิจัยได้นำกิจกรรมการสอนครั้งที่ 1-16 มาลงสรุปเป็นโครงการสอนรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ดังตาราง 5.17
ตาราง 5.17 สรุปการจัดกิจกรรมตามโครงการสอนรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm)
สัปดาห์ที่/ว ด ป
กิจกรรม
การปฏิบัติ
1/13 มิถุนายน 2555
ครั้งที่ 1 บรรยายแนวคิด/ทฤษฏี
ปฏิบัติตามโครงงาน
2/20 มิถุนายน 2555
- ฐานของกระบวนทัศน์
- กระบวนทัศน์กับการพัฒนาชุมชน
ปฏิบัติตามโครงงาน
3/27 มิถุนายน 2555
- นิยามการพัฒนาสังคม
- โครงสร้างสังคม
- ทฤษฎีการพัฒนาสังคม
- กลยุทธ์การพัฒนาสังคม
ครั้งที่ 2 บรรยายขั้นตอนการจัดทำโครงงาน
ปฏิบัติตามโครงงาน
 
ไม่ได้ลงในรายละเอียดการวิเคราะห์ทฤษฎี (แต่สอนในให้รู้)
4/4 กรกฎาคม 2555
ออกแบบเครื่องมือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ครั้งที่ 3 นำเสนอหัวข้อโครงงาน
ปฏิบัติตามโครงงาน
5/11 กรกฎาคม 2555
ออกแบบเครื่องมือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 2 (สมบูรณ์)
ปฏิบัติตามโครงงาน
6/18 กรกฎาคม 2555
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ครั้งที่ 1
ปฏิบัติตามโครงงาน
7/25 กรกฎาคม 2555
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ครั้งที่ 2
ปฏิบัติตามโครงงาน
8/1 สิงหาคม 2555
- การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
- การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์
- การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยสู่การพัฒนา
ปฏิบัติตามโครงงาน
9/8 สิงหาคม 2555 
ทางเลือกใหม่ที่เกิดจากกระบวน การพัฒนาและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
 
10/15 สิงหาคม 2555
- ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน (วิจัย-เก็บข้อมูล)
- การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
ไม่ได้ลงในรายละเอียดของวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS ให้เห็นแต่ละขั้นตอน
(โดยสอนให้รู้และเข้าใจในประเด็นสำคัญ)
11/22 สิงหาคม 2555
การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน (รายด้านและรายข้อ)
ปฏิบัติตามโครงงาน
12/(27) 29 สิงหาคม 2555
ศึกษาผลการวิจัยด้านสังคม และเศรษฐกิจ ของสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ
(ไปทัศนศึกษาการแสดงผลการวิจัยระดับชาติที่ งาน Thailand Research Expo 2012)
ปฏิบัติตามโครงงาน
13/5 กันยายน 2556 
สรุปผลการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน
ปฏิบัติตามโครงงาน
14/12 กันยายน 2556 
- แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ปฏิบัติตามโครงงาน
15/19 กันยายน 2556 
- การพัฒนาสังคมเพื่อความยั่งยืน
- การบริหารจัดการสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
- เศรษฐกิจพอเพียง
ปฏิบัติตามโครงงาน
16/26 กันยายน 2556 
- ท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สรุปการเรียนการสอน/แนะแนวการสอบ
ปฏิบัติตามโครงงาน
 
จากตาราง 5.17 พบว่า การจัดกิจกรรมการสอนรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) มีการจัดกิจกรรมการสอนเป็นไปตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการ ยกเว้นในบางเรื่องที่ไม่ได้ดำเนินการ เช่น การสอนโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อคำถาม สิ่งที่ไม่ได้สอนคือ กระบวนการวิเคราะห์วรรณกรรม ซึ่งอาจารย์ได้ดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขาดกระบวนการนี้
 
ตรวจสอบผลการสอน
 
          ภายหลังการเสร็จสิ้นการเรียนการสอนรายวิชา SIM1104 กระบวนทัศน์พัฒนาสังคมพื้นฐาน (Basic Social Development Paradigm) ผู้วิจัยได้ตรวจสอบแผนการเรียนและโครงการสอนและโครงงานของนักศึกษา เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นจริงจากการสังเกตการเรียนการสอนตลอดภาคการเรียน ดังตาราง 6.1-6.5
 
1.      ผลการสอน
การตรวจสอบวัตถุประสงค์ข้อ 1 คุณธรรมจริยธรรมจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงาน  ผู้สอนนำมาสรุปผล ดังตาราง 6.1
ตาราง 6.1 ความคิดเห็นต่อคุณธรรมจริยธรรมจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงานก่อน/หลังเรียน
ก่อนเรียน
หลังเรียน
นักศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความกระตือรือร้นในการเข้าเรียน มาสาย ส่งงานช้า ไม่ค่อยมีส่วนร่วมนัก สิ่งหนึ่งที่มีมากคือ การพูดจาไม่สุภาพ
เริ่มมาตรงเวลา และส่งงานตรงเวลามากขึ้น มีน้ำใจกับเพื่อนร่วมห้อง เช่นให้ยืมของได้ เป็นต้น และรู้จักการขออนุญาตในการจะเข้าหรือออกจากห้องเรียนเสมอ การพูดจาสุภาพมากขึ้น (มีการให้คะแนนความสุภาพด้านการใช้วาจาด้วย)
 
นักศึกษาส่วนใหญ่เริ่มมีกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโจทย์มากขึ้น
         
การตรวจสอบวัตถุประสงค์ข้อ 2 ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาจากการทดสอบด้วยแบบทดสอบ ผู้สอนนำมาสรุปผล ดังตาราง 6.2
ตาราง 6.2 ความคิดเห็นต่อความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อน/หลังบรรยาย
ก่อนเรียน
หลังเรียน
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเลยกับคำว่า การพัฒนา สังคม กระบวนทัศน์ ชุมชน การพัฒนาที่ยั่งยืน การวิจัยชุมชน
กระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้มากขึ้น
 
เข้าใจในประเด็นที่เรียนและร่วมคิดเสมอ รู้จักโจทย์ที่มาทำวิจัยในการเรียนมากขึ้น
         
การตรวจสอบวัตถุประสงค์ข้อ 3 ทักษะทางปัญญาจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงาน  ผู้สอนนำมาสรุปผล ดังตาราง 6.3
ตาราง 6.3 ความคิดเห็นต่อทักษะทางปัญญาจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อน/หลังบรรยาย
ก่อนเรียน
หลังเรียน
นักศึกษาทุกคนขาดทักษะการวิเคราะห์เชิงเหตุผล
นักศึกษาส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจในกระบวนการคิดและการวิเคราะห์เชิงเหตุผล มีความสนุกกับการใช้ความคิดในการวิเคราะห์สถานการณ์มากขึ้น
 
นักศึกษาเริ่มจะรู้จักการวิเคราะห์โจทย์และวิเคราะห์วรรณกรรมได้ (แต่ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากอยู่)
         
การตรวจสอบวัตถุประสงค์ข้อ 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงาน  ผู้สอนนำมาสรุปผล ดังตาราง 6.4
ตาราง 6.4 ความคิดเห็นต่อทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อน/หลังบรรยาย
ก่อนเรียน
หลังเรียน
นักศึกษายังไม่ค่อยรู้จักกันนัก การทำงานก็มีการแบ่งกันเฉพาะที่รู้จักกันเท่านั้น บางคนชอบเสียงดัง
นักศึกษาส่วนใหญ่จะเรียนรู้เพื่อนจากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้เกือบทุกคน แต่จะมีบางคนเท่านั้นที่ยังติดกับเพื่อนเดิมที่มาจากโรงเรียนเดิมอยู่ และยังคงมีเสียงดังอยู่เฉพาะบางกลุ่ม (ต้องปรับปรุง)
 
มีความกระตือรือร้นและรับผิดชอบในงานมอบหมาย รู้จักถามนอกเวลาใฝ่รู้มากขึ้น
         
การตรวจสอบวัตถุประสงค์ข้อ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงาน  ผู้สอนนำมาสรุปผล ดังตาราง 6.5
ตาราง 6.5 ความคิดเห็นต่อทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนก่อน/หลังบรรยาย
ก่อนเรียน
หลังเรียน
การใช้ทักษะในด้านเทคโนโลยี นั้นนักศึกษาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่จะขาดทักษะเฉพาะที่มาใช้ในการเรียน และยังขาดทักษะภาษาอังกฤษอย่างมาก
นักศึกษาบางคนเท่านั้นที่สามารถใช้ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศการเรียนด้านดี และส่วนใหญ่จะขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษอย่างมาก เช่นเดิม
         
2.      ผลการปฏิบัติการ
การตรวจสอบความสามารถในการทำโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ จากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคลเป็นหลัก (เนื่องจากนักศึกษาน้อย) ผู้สอนนำมาสรุปผล ดังตาราง 6.6
ตาราง 6.6 ความพึงพอใจและความคาดหวังในการทำโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
ความพึงพอใจต่อการทำโครงงาน
ความคาดหวังในการทำโครงงานในอนาคต
มีความพึงพอใจมาก เพราะสนุกได้ความรู้ ได้ไปคุยกับชาวบ้าน ได้ลงพื้นที่จริง
ต้องมีลักษณะเรียนรู้กับชุมชนจริง (ต้องทำต่อเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของนักศึกษา ในสายสังคมศาสตร์การพัฒนา)
 
ตาราง 6.7 ความคิดเห็นและประโยชน์ต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
ความคิดเห็นต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
ประโยชน์ต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้
รู้จริง ได้นำทฤษฎีที่อยู่ในห้องเรียนไปปฏิบัติจริง ทำให้ส่งผลดีต่อการเขียนทดสอบในรายวิชา
มีตัวอย่างที่ชัดเจน มีสถานการณ์ที่ได้ร่วมเรียนรู้
 
3.      ผลการจัดทำโครงงาน
ทักษะในการเสนอสรุปผลการจัดทำโครงงานของนักศึกษา  จากการวิเคราะห์โครงงานของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์แบบอย่างที่ดีและข้อบกพร่องที่ต้องการแก้ไข ดังตาราง 6.8 
ตาราง 6.8 ผลการวิเคราะห์แบบอย่างที่ดีและข้อบกพร่องของโครงงาน
แบบอย่างที่ดี
ข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข
การเรียนรู้การทำงานเป็นทีม
ขาดการติดตามงานกับอาจารย์ผู้สอน (ไม่บอกก็ไม่ทำ)
รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี
ยังไม่กล้าตัดสินใจ
มีการพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบมากขึ้น
การนัดเวลาที่ผิดพลาดบ่อย
         
จากการศึกษาแบบอย่างที่ดีและข้อบกพร่องของโครงงานเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่นักศึกษาเสนอต่ออาจารย์ประจำวิชา พบว่า ข้อบกพร่องจะต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้เป็นตัวแปรที่จะไปสร้างความเสียหายให้กับแบบอย่างที่ดี ความกลมเกลียวเหนี่ยวแน่นในทีมจะเริ่มน้อยลงหาในทีมผิดนัดบ่อยครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น