วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สาระสำคัญของรายวิชา : SIM3102 การจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี

Course Syllabus : SIM3102 Conflict Management and Peace Resolution
หน่วยกิต : 3(3-0-6) ภาคเรียนที่ : 1/2553 อาจารย์ผู้สอน : ภูสิทธ์ ขันติกุล (Phusit Khantikul)
โปรแกรมวิชา : การจัดการนวัตกรรมสังคม (Social Innovation Management)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Humanities and Social Sciences)

คำอธิบายรายวิชา : ศึกษาแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความหมาย วิวัฒนาการ ปรัชญา ลักษณะและสาเหตุของความขัดแย้ง รูปแบบของความขัดแย้ง กระบวนการในการจัดการความขัดแย้ง ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยเน้นการศึกษารูปแบบ แนวทาง เทคนิคและวิธีการในการจัดการความขัดแย้งโดยสันติ และใช้กรณีศึกษาการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีรวมถึงนวัตกรรมของการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ทั้งในและต่างประเทศ

จุดประสงค์ : เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจในแนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความขัดแย้ง รู้และเข้าใจในแนวคิดของนักคิดต่าง ๆ ต่อความขัดแย้งทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความขัดแย้งอย่างชัดเจนตามกรณีศึกษาต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจ รู้จักวิเคราะห์และแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาความแข้งโดยสันติวิธีรวมถึงมีความรู้และเข้าใจในรูปแบบ แนวทาง เทคนิคและวิธีการในการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ตลอดจนสามารถวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นนวัตกรรมในการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ชุมชน สังคมนั้น ๆ ด้วย

เค้าโครงรายวิชา(Course Outline)






สื่อการเรียนการสอน :คอมพิวเตอร์, PPT., VCD, Over head, เอกสารประกอบการสอนและตำรา, ข่าวจากหนังสือพิมพ์, บทความทางวิชาการ, ผลงานวิจัย, วิทยนิพนธ์ สาระนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ และWebsite ที่เกี่ยวข้อง [online]
การวัดผล :
1. คะแนนพฤติกรรมการเรียน 10 คะแนน
2. คะแนนภาคปฏิบัติ
- รายงานเอกสาร(กลุ่ม) 10 คะแนน
- กิจกรรมของสาขาวิชา 10 คะแนน
- แบบฝึกหัด(เดี่ยว) 10 คะแนน
- รายงานกลุ่มภาคพื้นที่(กลุ่ม) 10 คะแนน
3. คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน
4. คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน
รวมคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน

เกณฑ์การวัดผล :




กิจกรรมการเรียนการสอน : ลักษณะการบรรยาย การอภิปรายหรือเสวนากลุ่มย่อย การจัดทำรายงานเดี่ยว และกลุ่ม ศึกษาพื้นที่กลุ่มเป้าหมายและนำเสนอ การฝึกคิดวิเคราะห์ สรุปผล และถามตอบ
หนังสืออ่านประกอบ :
1. ไซ แลนดัว และคณะ. การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (แปลและเรียบเรียงโดย นรินทร์ องค์อินทรีและธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์). กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2549.
2. ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพมหานคร : บริษัทออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด, 2550.
3. แดเนียล ดานา. กลยุทธ์หยุดความขัดแย้ง (แปลและเรียบเรียงโดย จรรยา พุคยาภรณ์ และศนินุช สวัสดิโกศล). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล, 2549.
4. พัชรี สิโรรส. บรรณาธิการ. ความขัดแย้งในสังคมไทย ยุควิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
5. ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า. ความรุนแรงในสายหมอก. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2549.
6. อุทัย ดุลยเกษม และเลิศชาย ศิริชัย. บรรณาธิการ. ความรู้กับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอดิสัน เพรส โปรดักส์ จำกัด, 2548.
7. พระไพศาล วิสาโล. สันติวิธี วิถีแห่งอารยะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2549.
8. ทวีศักดิ์ สุวคนธ์. คัมภีร์ผู้นำวิถีสู่สันติ. กรุงเทพมหานคร : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์, 2549.
สถานที่ติดต่อ :โปรแกรมวิชาการจัดการนวัตกรรมสังคม อาคาร 36 ห้อง พักอาจารย์ และโทรติดต่อ 08-3177-5973
ข้อมูลบทความของ อ.ภูสิทธ์ ขันติกุลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน ให้เข้าเว็บไซด์นี้นะ www.kunphoolive.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น