วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปการก่อตัวของประชาสังคมในโลกตะวันตก

•1. การเปลี่ยนแปลงในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 15-17 เป็นการเตรียมตัวในการก่อตัวของการเมืองแบบใหม่ สังคมแบบใหม่ และวัฒนธรรมแบบใหม่ เช่น
–การรวมตัวของสังคมกลุ่มกระฎุมพี (ชนชั้นกลาง ชาวเมือง พ่อค้า นักการเงิน ปัญญาชน)
–มีการรวมกลุ่มเป็นสมาคมต่าง ๆ อย่างเปิดเผย
–เป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อน
–เกิดพฤติธรรม ความเป็นวัฒนะ หรืออารยะ (civility) ในด้านต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน มารยาทการเข้าสังคม มารยาทในการแต่งตัว สังคม การกินดื่ม การปลูกบ้านเรือน เป็นต้น
•การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดใหม่ทั้งหมด เช่น การเปิดพื้นที่สาธารณะในยุคก่อนจะเป็นงานเลี้ยง พระราชพิธี ศาสนพิธี ในพระราชวัง โบสถ์ วิหาร แต่พื้นที่สาธารณะในยุคใหม่ของชนชั้นกลาง เช่น ร้านกาแฟ ชมรม สโมสร เป็นต้น
•การขยายตัวของชนชั้นกลาง การเกิดขึ้นของกระฎุมพี มีหลายปัจจัย ได้แก่
– การเติบโตของการเกษตร หัตถอุตสาหกรรม การค้าทางการเกษตร
–ถูกกระตุ้นให้เติบโตขึ้นระหว่างตะวันตก-ตะวันออกหลังสงครามครูเสดการขยายตัวทางการค้าทำให้เกิดเมืองใหญ่ ๆ ขึ้นทั้งในอิตาลี ในฝรั่งเศส
•4. การขยายตัวของชนชั้นกลางและการเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจทำให้มีอำนาจในการต่อรองทางการเมืองมากขึ้น(เป็นต้นว่า ที่ประชุมสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีตัวแทนของชนชั้นกลางกระฎุมพีเพิ่มขึ้น)
•ระบบเศรษฐกิจยุคพาณิชยนิยม (Mercantilism) การเก็บภาษีมีการแยกระหว่างพระคลังหลวง(..........?............) กับพระคลังข้างที่ (..................?.............) อย่างชั้นเจน จึงทำให้อำนาจรัฐส่วนกลางเข้มแข็งขึ้น
•การปฏิรูปศาสนา (The Reformatiom) เกิดความขัดแย้งภายในกลุ่มประเทศวัฒนธรรมคริสเตียน ส่งผลถึงแนวคิดเรื่อง การเมือง สังคม และปัจเจกบุคคลของคนยุโรป (โปรเตสแตนต์คัดค้านการคอร์รัปชั่น ความฟุ่มเฟือยในชีวิตความเป็นอยู่ของนิกายคาทอลิก จึงดึงดูดใจแก่พ่อค้าคนเมืองชนชั้นกลางมากขึ้น) ลัทธิโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่เน้นความสำคัญของปัเจกบุคคล ยอมรับอำนาจผลงานการแสดงออกและการตัดสินใจและความรับผิดชอบของบุคคล จึงเป็นเหตุให้เศรษฐกิจทุนนิยมรวมทั้งความคิดการเมืองแบบประชาธิปไตยเสรีนิยมขยายตัวได้เร็วและเริ่มได้เห็นการก่อตัวของ “ประชาสังคม” ขึ้นด้วยได้เกิดการตื่นตัวในการศึกษา การอ่าน การเขียนค่อนข้างกว้างขวาง มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เป็นต้น

นักคิดทางการเมืองและประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ที่อธิบาย “ประชาสังคม” ไว้เป็นส่วนหนึ่ง































อ้างอิงจาก หนังสือ ธีรยุทธ บุญมี. 2547. ประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สายธาร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น